ข้อเท้าและฝ่าเท้า
ข้อเท้าแพลง Ankle sprain
เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อย สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย ส่วนมากจะพบในนักกีฬาและคนที่ใช้ข้อเท้ามากกว่าคนปกติ ไม่ว่าจะเป็นการใส่ส้นสูง การเดินทางไม่เรียบ การตกจากที่สูงหรือการเลือกใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม ผลกระทบจากข้อเท้าพลิกคือ มีโอกาสที่เท้าจะพลิกได้ง่ายกว่าคนทั่วไป เนื่องจากข้อเท้ามีการสูญเสียการรับรู้ข้อต่อ ทำให้มีอาการปวด บวมบริเวณข้อเท้า เดินลงน้ำหนักลำบาก การรักษาทางกายภาพบำบัดมุ่งเน้นไปที่การลดอาการปวด อักเสบและกระตุ้นการรับรู้ข้อต่อของข้อเท้า
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
- รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม
เพิ่มการไหลเวียนเลือด - การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวด (Electrical stimulation)
- ประคบเย็น (Cool pack)
ลดการอักเสบ ลดอาการปวด - การใช้ผ้าเทป (Therapeutic Tapping)
- การออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการรับรู้ข้อต่อ(Proprioception training) ลดการเกิดข้อเท้าพลิกซ้ำ
รองช้ำ พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ Plantar fasciitis
เอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบที่เราเรียกว่า รองช้ำเกิดจากการอักเสบที่เอ็นใต้ฝ่าเท้า โดยส่วนใหญ่มักจะมีอาการเจ็บที่ส้นเท้า หรือกลางฝ่าเท้า อาการที่พบมักจะมีอาการเจ็บที่เอ็นใต้ฝ่าเท้าเมื่อก้าวเท้าหลังจากตื่นตอนนอนตอนเช้า หรือนั่งนานๆแล้วลุกขึ้นยืนก็จะมีอาการเจ็บและเมื่อเดินไปเรื่อยๆอาการจะดีขึ้น แต่หากเราเดิน หรือยืนเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้เท้ามีอาการปวดมากยิ่งขึ้น
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- รักษาด้วยคลื่นกระแทรก ช็อคเวฟ (ShockWave therapy) เพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
- การยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเท้า
- ประคบเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด