ข้อมือและนิ้วมือ

พังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือ Carpal Tunnel Syndrome

เป็นอาการที่เกิดจากการบีบของเส้นประสาทที่ผ่านช่องผังพืดข้อมือ อาการสำคัญคือปวดและ ชา บริเวณที่เส้นประสาทมาเลี้ยง (นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลางและครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง) รวมถึงมีอาการอ่อนแรง โดยอาการปวดจะรุนแรงขึ้นในเวลากลางคืน สาเหตุที่พบบ่อยในการเกิดอาการนี้มักเกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้มือในระยะเวลานาน, การใช้มือในท่าที่ผิดรูปแบบ, โรคที่ทำให้เกิดบวมในข้อมือ เช่น โรคเบาหวาน, โรคต่อมน้ำเหลือง, หรือการบาดเจ็บของข้อมือ

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
  • รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การกระตุ้นไฟฟ้า (Electrical Stimulation ) ชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ
  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
  • ประคบร้อน(Hot pack)หรือเย็น(Cool pack)

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ
De Quervain’s Disease

เป็นโรคที่เกิดกจากการใช้งานข้อมือในลักษณะขึ้นลงซ้ำๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อมือทางด้านนอกบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีเอ็นกล้ามเนื้อ Abductor pollicis longus(APL) และกล้ามเนื้อExtensor pollicis brevis(EPB)พาดผ่าน เมื่อมีการใช้งานซ้ำๆจึงเกิดการเสียดสีระหว่างเส้นเอ็นกล้ามเนื้อและปลอกหุ้มเส้นเอ็น ทำให้มีการหนาตัวขึ้น จึงเกิดการกดทับและจำกัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทั้ง2มัดนี้ ผู้ป่วยจึงมีอาการปวด จำกัดการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือและข้อมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
  • รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง
  • ประคบเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด
  • การใช้ผ้าเทป (Therapeutic Tapping)
ปวด ชา ที่บริเวณมือ

นิ้วล็อค (Trigger finger)

เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วก็ได้ ภาวะนี้เกิดจากปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณโคนนิ้วมีการอักเสบ หนาตัวขึ้น จากการเสียดสีของเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งแบ่งออกเป็น 4ระยะ

  • ระยะที่ 1 มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือเวลาขยับ แต่ยังไม่มีการสะดุดระหว่างการเคลื่อนไหวนิ้ว
  • ระยะที่ 2 เริ่มมีการสะดุดเวลาขยับนิ้ว แต่ยังขยับได้อยู่
  • ระยะที่ 3 นิ้วติดล็อก แต่ยังสามารถเหยียดออกได้โดยการใช้มืออีกข้างช่วยแกะ
  • ระยะที่ 4 นิ้วติดจนไม่สามารถขยับออกได้

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • รักษาด้วยคลื่นกระแทรก ช็อคเวฟ (ShockWave therapy)
  • รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
  • รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และขับข้อต่อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
  • ประคบเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด
อย่าปล่อยให้อาการปวดรุมเร้า
“นัดหมายทำกายภาพบำบัด”
Scroll to Top