เข่า

เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบ (Iliotibial Band Syndrome : IT Band)

เป็นโรคที่เกิดการบาดเจ็บของเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณต้นขาด้านนอก ที่มีจุดเกาะตั้งแต่กระดูกเชิงกรานถึงกระดูกหน้าแข้งด้านข้าง เกิดการอักเสบจากการเสียดสีกับกระดูกบริเวณเข่าด้านข้าง จากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เนื่องจากทุกก้าวที่วิ่งจะมีการหดและยืดของ ITB จึงพบการบาดเจ็บนี้ได้บ่อยในนักวิ่ง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณสะโพก ต้นขาด้านนอกและบริเวณเข่าร่วมด้วย

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • รักษาด้วยคลื่นกระแทรก ช็อคเวฟ (ShockWave therapy) เพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
  • รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ประคบเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด

ปวดเข่าด้านหน้า โรคเอ็นลูกสะบ้าอักเสบ Patella tendinitis

เกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นที่อยู่ใต้กระดูกสะบ้ามักจะมีอาการปวดที่เข่าด้านหน้า สาเหตุมาจากกิจกรรมที่มีการกระโดดซ้ำ ๆ เช่น บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เป็นต้น จนทำให้เกิดการฉีกขาดขนาดเล็กๆของเอ็นสะบ้าซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและเกิดการอักเสบที่เอ็นใต้ลูกสะบ้าขึ้น อาการเริ่มแรก ผู้ป่วยอาจปวดเฉพาะเวลาเดิน วิ่งหรือทำกิจกรรม ซึ่งมักจะปวดบริเวณรอบ ๆเข่า หรือมีจุดกดเจ็บบริเวณด้านล่างเข่า (เอ็นสะบ้า) เมื่อปล่อยทิ้งไว้อาการปวดอาจเพิ่มขึ้น และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น งอ/เหยียดขาได้ลำบาก และลุกนั่งหรือเดินลงน้ำหนักไม่ได้ เป็นต้น

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • รักษาด้วยคลื่นกระแทรก ช็อคเวฟ (ShockWave therapy) เพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
  • รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวด (Electical Stimulation)
  • ประคบเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด
  • ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า
ปวดเข่า เข่าเสื่อม เหยียดเข่าไม่สุด

ข้อเข่าเสื่อม OA knee

โรคเข่าเสื่อมพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมหรือมีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อเป็นไปอย่างช้าๆต่อเนื่องโดยไม่สามารถกลับคืนสู่สภาวะเดิมได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวด จำกัดการเคลื่อนไหวในท่างอและเหยียดเข่า ข้อเข่าโก่งผิดรูป มีอาการตึงที่ข้อพับเข่า ซึ่งการรักษาทางกายภาพจะมุ่งเน้นไปที่การชะลอและป้องกันความรุนแรงของโรคไม่ให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

การรักษาทางกายภาพบำบัด

  • รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
  • รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  • การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวด (Electical Stimulation)
  • การดัดดึงกระดูก(Mobilize) เพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงรอบข้อเข่า
  • ประคบอุ่น(Hot pack)
อย่าปล่อยให้อาการปวดรุมเร้า
“นัดหมายทำกายภาพบำบัด”
Scroll to Top