คอ บ่า หลัง อาการชาร้าวลงขา
ปวดคอบ่าเรื้อรัง (ออฟฟิศซินโดรม)
อาการปวดอคอ บ่าเป็นๆ หายๆ เกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้ออย่างหนักเป็นเวลานานๆ เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการล้าจากการใช้งานทำให้เกิดการบาดเจ็บ เมื่อปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังนำไปสู่อาการปวดคอ บ่า ร้าวขึ้นขมับและเบ้าตา หรือปวดบ่าร้าวลงสะบักได้ และ นอกจากนี้การปวดเรื้อรังทำให้ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อลดลง ให้กลับมาเป็นได้อีก มักพบมากในกลุ่มพนักงงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ
สามารถป้องกันอาการบาดเจ็บได้ด้วย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่ง ปรับเวลาให้มีช่วงพักไม่นั่งต่อเนื่องนานเกิน 2 ชั่วโมง การปรับเปลี่ยนความเหมาะสมของโต๊ะทำงาน การออกกำลังกายเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรง
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- รักษาด้วยคลื่นกระแทรก ช็อคเวฟ (ShockWave therapy) สลายผังผืด เพื่อเกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
- รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
- การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง
- ประคบร้อน(Hot pack)หรือเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด
ปวดหลังส่วนล่าง lower back pain
เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนส่วนใหญ่ โดยมักจะมีอาการปวดที่หลังส่วนล่าง ไม่มีชาร้าวลงขานั่ง ยืน หรือเดินเป็นเวลานานจะมีอาการปวดมากขึ้นโดยมักจะมีหลายสาเหตุที่เป็นสาเหตุหลัก เช่น
- การยกของหนัก โดยไม่ถูกวิธีทำให้บาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลัง
- การทำงานหรือที่ทำงานที่ต้องยืนนานๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อหลังเมื่อยล้า และเกิดอาการปวด
- อาจมีมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่นการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา, การได้รับอุบัติเหตุ ,ภาวะอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง, หรือการติดเชื้อของกระดูกสันหลัง
การรักษาของอาการปวดหลังล่างอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุของอาการ
การปรับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการปวดหลัง และการทำกายภาพบำบัดสามารถช่วยลดอาการปวดได้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- รักษาด้วยคลื่นกระแทรก ช็อคเวฟ (ShockWave therapy) เพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
- รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
- การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว( core stabilize exercise)
- การดึงหลังด้วยเครื่องดึงหลัง (Traction)
- ประคบร้อน(Hot pack)หรือเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด
กล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท(Piriformis syndrome)
กล้ามเนื้อสะโพกอักเสบเรื้อรัง มักจะมีอาการปวดที่สะโพก และมีอาการร้าวลงที่ขาตาม refer pain ดังรูป เมื่อวิ่ง หรือเดินนานๆ หรือมีการใช้งานกล้ามเนื้อสะโพกจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น หากนั่งพักหรือลดการใช้งานจะดีขึ้น
สาเหตุการเกิดมักเกิดจากเคลื่อนไหวผิดท่า การนั่งนานๆ นั่งไขว้ห้าง หรือผู้ที่ทำงานต้องยืน หรือเดินเป็นเวลานาน
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- รักษาด้วยคลื่นกระแทรก ช็อคเวฟ (ShockWave therapy) เพื่อให้เกิดกระบวนการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
- รักษาด้วยเครื่องเลเซอร์พลังงานสูง (High power laser) เพื่อลดอาการปวด เร่งกระบวนการซ่อมแซม เพิ่มการไหลเวียนเลือด
- การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพก
- ประคบร้อน(Hot pack)หรือเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด
กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท
เกิดจากหมอนรองกระดูกที่อยู่ระหว่างสันหลังของเรามีความยืดหยุ่นลดลง โดยปกติหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีลักษณะนิ้มเหมือนเจลลี่ แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีการใช้งานหลังมากเกินไปเช่น การนั่งเป็นเวลานาน หรือมีน้ำหนักมากก็จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเรามีลักษณะแบน และแข็งได้ค่ะ โดยอาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมคือ ปวดหลัง หรือปวดคอขึ้นอยู้กับว่าเสื่อมบริเวณไหน แต่อาการปวดนี้จะเกิดได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่นปวดกล้ามเนื้อหลังอักเสบ
ปวดจากข้อต่อกระดูสันหลังอักเสบ ซึ่งอาการปวดเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทำให้ปวดเรื้อรัง และมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ นำไปสู่การเกิดหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมทับเส้นประสาท ซึ่งจะมีอาการดังต่อไปนี้ ปวดร้าวลงแขน หรือแขนเหมือนโดนไฟช็อต ชาแขนและนิ้วมือ หรือขาชาและเท้า มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทมาเลี้ยงได้
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- การดึง คอ/หลังด้วยเครื่องดึง (Traction) เพื่อช่วยยืดกล้ามเนื้อ ลดแรงกระทำต่อข้อต่อและกระดูกสันหลังเพื่อลดอาการปวด
- รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
- การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว( core stabilize exercise)
- การดัด ดึง ข้อต่อ (Mobilization) เพื่อเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
- ประคบร้อน(Hot pack)หรือเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด
หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท
หมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาท อาการจะคล้ายกับหมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาทแต่สาเหตุการเกิดนั้นจะต่างกัน หมอนรองปลิ้นทับเส้นประสาทนั้นเกิดจากการ ฉีกขาดของ Anulus fibrosus ซึ่งมีหน้าที่กันหมอนรองกระดูกสันหลังที่มีลักษณะคล้ายเจลลี่เรียกว่า Nucleus pulposus มีการเคลื่อนตัวออกกมารบกวนเส้นประสาทได้ ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นทับเส้นประสาทมีทั้งหมด 4 ระดับ
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- การดึง คอ/หลังด้วยเครื่องดึง (Traction) เพื่อช่วยยืดกล้ามเนื้อ ลดแรงกระทำต่อข้อต่อและกระดูกสันหลังเพื่อลดอาการปวด
- รักษาด้วยเครื่องอัลตราซาวด์เพื่อลดอาการปวด อักเสบ (Ultrasound therapy)
- การออกกำลังกายเพื่อรักษาหมอนรองกระดูกทุบเส้นประสาท (Mckenzie extension exercise) และการออกกำลังกายเพิ่มควาแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว(core stabilize exercise)
- การออกกำลังกายเพื่อ รักษา
- การดัด ดึง ข้อต่อ (Mobilization) เพื่อลดอาการปวด และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว
- ประคบร้อน (Hot pack)หรือเย็น(Cool pack) เพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด