การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า PMS
PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation
กลไกการทำงาน PMS
ในทางกายภาพบำบัด PMS ถูกนำมาใช้รักษาอาการต่างๆ
• อาการปวดเรื้อรัง
เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดข้อ PMS ช่วยในเรื่องของลดอาการปวดและลดอาการอักเสบ
• การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
เช่น การฉีกขาดของกล้ามเนื้อ การอักเสบของเส้นเอ็น PMS จะช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและลดอาการบวม
• ภาวะเส้นประสาทถูกกดทับ
เช่น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (carpal tunnel syndrome) PMS ช่วยลดอาการชาและอาการปวด
• การฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการผ่าตัด
PMS จะช่วยกระตุ้นการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว
ข้อดีของการรักษาด้วย PMS
ปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียง
ไม่มีการสอดใส่อุปกรณ์เข้าร่างกาย ผลข้างเคียงต่ำ เหมาะกับผู้ป่วยทุกวัย
มีประสิทธิภาพ ให้ผลลัพธ์ที่ยั่งยืน
เห็นผลการรักษาเร็ว ผลการรักษาอยู่ได้นาน สามารถรักษาร่วมกับวิธีอื่นได้
สะดวกสบาย
ไม่ต้องใช้ยา ไม่ต้องผ่าตัด ใช้เวลารักษาสั้น
ขั้นตอนการรักษา
การตรวจประเมินผู้ป่วย
ตรวจประวัติและอาการ ประเมินความเหมาะสมในการรักษา และวางแผนการรักษา
การเตรียมตัวก่อนรักษา
ถอดเครื่องประดับโลหะ แจ้งประวัติการรักษาและโรคประจำตัว สวมเสื้อผ้าที่สบาย
ระหว่างการรักษา
ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงการสั่นเป็นจังหวะ ไม่มีความเจ็บปวด
ข้อห้าม - ข้อควรระวัง
-
- เครื่องกระตุ้นหัวใจ
- การตั้งครรภ์
- โลหะฝังในร่างกายบริเวณที่รักษา
- โรคลมชัก
- แผลติดเชื้อเฉียบพลัน
- บริเวณที่มีเนื้องอกมะเร็ง
แม้ว่า PMS จะถือว่าปลอดภัย แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงบางอย่าง เช่น อาการปวดบริเวณที่ได้รับการรักษา หรือรู้สึกแสบร้อนเล็กน้อย ผู้ป่วยควรแจ้งนักกายภาพบำบัดหากมีอาการผิดปกติใดๆ และการใช้ PMS ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านกายภาพบำบัดเท่านั้น