ศศิชล คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี

โรคนิ้วล็อค รู้ไวแก้ไขได้

ปวด ชา ที่บริเวณมือ

ช่วงนี้ WFH ต้องอยู่หน้าคอมคลิกเมาส์ ต้องพิมพ์ส่งงานผ่านทางกลุ่ม Line ใช้นิ้วกด ใช้นิ้วไถมือถือทั้งวัน ใครเริ่มมีอาการปวดนิ้ว ลองมาเช็คอาการของนิ้วล็อค trigger finger กันดูจ้า

  • มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว
  • กําและเหยียดนิ้วไม่สะดวก
  • นิ้วติดหรือล็อคเมื่องอนิ้ว
  • รู้สึกขัด ๆ ที่บริเวณโคนนิ้ว
  • มีอาการเจ็บนิ้ว โดยเฉพาะเมื่อกํามือ
  • อาการจะเป็นมากในช่วงเช้าตื่นนอน
  • อาจคลําเจอก้อนบริเวณโคนนิ้ว
  • เมื่อกดบริเวณโคนนิ้วตรงปุ่มกระดูกจะปวดมาบริเวณที่กด
  • เมื่อกํามืองอนิ้วเข้ามาแล้ว จะเหยียดนิ้วคืนออกไม่สะดวกเหมือนกับนิ้วล็อคติดอยู่

อาการและอาการแสดงแบ่งได้เป็น 4 ระยะ

  1. Inflammation (ระยะอักเสบ) ยังไม่มีอาการสะดุดขณะงอนิ้วมือชัดเจน ผู้ป่วยมีอาการปวด
    บริเวณฝ่ามือตรงกับโคนนิ้วมือ บริเวณ หัวกระดูกฝ่ามือ ด้านฝ่ามือ ของนิ้วนั้นๆ การตรวจร่างกาย
    พบว่ามีการกดเจ็บบริเวณดังกล่าว แม้เพียงออกแรงกดเบาๆ และเมื่อให้ผู้ป่วยขยับงอหรือเหยียดนิ้ว จะรู้สึกไม่
    ราบเรียบเหมือนปกติ แต่ยังไม่มีอาการสะดุดชัดเจน (uneven flexion)

  2. Triggering (นิ้วสะดุด) เมื่อพยาธิสภาพเรื้อรังมากขึ้นปลอกเส้นเอ็น โคนนิ้วมือ จะมีการหนาตัว
    มากขึ้นทําให้เริ่มมีการขัดขวางการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นที่ใช้ในการงอนิ้วมือชัดเจนขึ้น นอกเหนือจากการกด
    เจ็บบริเวณ โคนนิ้วมือเหมือนระยะแรกแล้วนั้น เมื่อให้ผู้ป่วยงอเหยียดนิ้วที่มีปัญหาสามารถสังเกตเห็นการ
    สะดุด (triggering, snapping) ขณะที่ผู้ป่วยงอและเหยียดนิ้วมือ แต่ผู้ป่วยยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้

  3. Locking (นิ้วล็อค) การเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นถูกขัดขวางมากขึ้น จนกระทั่งเกิดการล็อค คือเมื่อ
    ให้ผู้ป่วยงอนิ้วลงมาเต็มที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดนิ้วออกได้เองต้องใช้มืออีกข้างช่วยเหยียด ผู้ป่วยบาง
    รายอาจให้ประวัติว่าไม่สามารถงอนิ้วลงมาได้เอง เนื่องจากนิ้วอยู่ในลักษณะท่างอค้างไม่
    สามารถงอลงมาได้และมีอาการเจ็บปวดมากร่วมด้วย

  4.  Flexion contracture เมื่อพยาธิสภาพเรื้อรังมากขึ้นผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดมากขณะขยับนิ้ว
    เมื่อใช้งานเกิดการยึดติดของเส้นเอ็นงอนิ้ว

การรักษาทางการแพทย์

  1. การรับประทานยาเพื่อลดอาการอักเสบของเส้นเอ็นและอาการปวด
  2. การฉีดยาสเตียรอยด์ที่บริเวณเส้นเอ็นและปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่มีการอักเสบ อาการอักเสบจะดีขึ้น หลังจากฉีดยา ไม่ควรฉีดยามากกว่า 3 ครั้ง เพราะการฉีดยาอาจทําให้เส้นเอ็นเปื่อยหรือขาดได้
  3. การรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อตัดปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่อักเสบ แล้วเลาะพังผืดบริเวณนั้นที่หนาตัวขึ้น และขาดความยืดหยุ่นออก
  4. การทํากายภาพบําบัด เพื่อลดอาการปวดและอาการตึงของเส้นเอ็น ได้แก่ 
  • การใช้ความร้อนในการรักษา เช่น พาราฟิน แช่น้ําอุ่น
  • การใช้ความเย็นรักษาในระยะอักเสบ
  • การรักษาด้วยคลื่นเหนือเสียง (Ultrasound)
  • การรักษาด้วยวิธีการขยับ ดัดดึง ข้อต่อ (Mobilization)
  • การใส่อุปกรณ์ดามนิ้ว เช่น Wrist Splint

Leave a Comment

Scroll to Top