ศศิชล คลินิกกายภาพบำบัด ชลบุรี

Uncategorized

ออกกำลังกาย ช่วย ลดอาการข้อไหล่ติด !!!

เช็ค! ความเสี่ยง “ข้อไหล่ติด” เอื้อมหยิบของจากที่สูงไม่ได้ เอี้ยวตัวหยิบของจากด้านหลังไม่ได้ เอื้อมมือไปรูดซิปด้านหลังเสื้อไม่ได้ ยกแขนเพื่อสวมเสื้อผ่านทางศีรษะไม่ได้ ผลักบานประตูหนักๆ ไม่ได้ ยกแขนขึ้นสระผมตัวเองลำบาก หากใครที่มีอาการเหล่านี้ บ่งบอกว่าคุณเริ่มมีอาการของข้อไหล่ติดแล้วนะคะ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่ถูกต้อง https://www.youtube.com/watch?v=KYsQ__G2iisแล้วทราบไหมว่า? การออกกำลังกายมีส่วนสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิด “ข้อไหล่ติด” สามารถรักษาและบรรเทาอาการข้อไหล่ติดได้อีกด้วย โดยเน้นการออกกำลังกายที่เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้https://www.youtube.com/watch?v=RiqGhbE2-z4

โรคนิ้วล็อค รู้ไวแก้ไขได้

ช่วงนี้ WFH ต้องอยู่หน้าคอมคลิกเมาส์ ต้องพิมพ์ส่งงานผ่านทางกลุ่ม Line ใช้นิ้วกด ใช้นิ้วไถมือถือทั้งวัน ใครเริ่มมีอาการปวดนิ้ว ลองมาเช็คอาการของนิ้วล็อค trigger finger กันดูจ้า มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว กําและเหยียดนิ้วไม่สะดวก นิ้วติดหรือล็อคเมื่องอนิ้ว รู้สึกขัด ๆ ที่บริเวณโคนนิ้ว มีอาการเจ็บนิ้ว โดยเฉพาะเมื่อกํามือ อาการจะเป็นมากในช่วงเช้าตื่นนอน อาจคลําเจอก้อนบริเวณโคนนิ้ว เมื่อกดบริเวณโคนนิ้วตรงปุ่มกระดูกจะปวดมาบริเวณที่กด เมื่อกํามืองอนิ้วเข้ามาแล้ว จะเหยียดนิ้วคืนออกไม่สะดวกเหมือนกับนิ้วล็อคติดอยู่ https://www.youtube.com/watch?v=BECvJBNYl4k อาการและอาการแสดงแบ่งได้เป็น 4 ระยะ Inflammation (ระยะอักเสบ) ยังไม่มีอาการสะดุดขณะงอนิ้วมือชัดเจน ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณฝ่ามือตรงกับโคนนิ้วมือ บริเวณ หัวกระดูกฝ่ามือ ด้านฝ่ามือ ของนิ้วนั้นๆ การตรวจร่างกายพบว่ามีการกดเจ็บบริเวณดังกล่าว แม้เพียงออกแรงกดเบาๆ และเมื่อให้ผู้ป่วยขยับงอหรือเหยียดนิ้ว จะรู้สึกไม่ราบเรียบเหมือนปกติ แต่ยังไม่มีอาการสะดุดชัดเจน (uneven flexion) Triggering (นิ้วสะดุด) เมื่อพยาธิสภาพเรื้อรังมากขึ้นปลอกเส้นเอ็น โคนนิ้วมือ จะมีการหนาตัวมากขึ้นทําให้เริ่มมีการขัดขวางการเคลื่อนไหวของเส้นเอ็นที่ใช้ในการงอนิ้วมือชัดเจนขึ้น นอกเหนือจากการกดเจ็บบริเวณ โคนนิ้วมือเหมือนระยะแรกแล้วนั้น เมื่อให้ผู้ป่วยงอเหยียดนิ้วที่มีปัญหาสามารถสังเกตเห็นการสะดุด (triggering, snapping) ขณะที่ผู้ป่วยงอและเหยียดนิ้วมือ …

โรคนิ้วล็อค รู้ไวแก้ไขได้ Read More »

ปวดส้นเท้า ฝ่าเท้า รองช้ำ

โรครองช้ำหรือ plantar fasciitis คืออะไร ???

หากใครเคยมีอาการปวดเสียวแปล๊บๆ บริเวณส้นเท้าขณะที่เริ่มเดินหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า นั่นคืออาการของโรครองช้ำตามภาษาชาวบ้านหรือโรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบนั่นเอง วันนี้จะพาไปทำความรู้จักกับอาการของโรครองช้ำและวิธีการรักษากันค่ะ โรครองช้ำหรือ plantar fasciitis คืออะไร ??? โรครองช้ำคืออาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับพังผืดใต้ฝ่าเท้าโดยผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบริเวณส้นเท้าด้านในหรือตามแนวแถบของพังผืดในตอนเช้า อาการปวดจะมีลักษณะแปล๊บๆ เหมือนมีอะไรมาแทงบริเวณส้นเท้า ทำให้เวลาที่วางส้นเท้าลงกับพื้นอาจมีอาการสะดุ้ง อาการปวดจะค่อยๆ เบาลงเมื่อเดินไปได้ 2-3 ก้าว และสามารถกลับมาปวดมากเหมือนเดิมได้ใหม่ หากยืนเป็นระยะเวลานานหรือลุกขึ้นจากการนั่งพักนานๆ และถ้าผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนท่าเดินเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดบริเวณส้นเท้า อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วยได้ เช่น เข่า สะโพก และหลัง “สาเหตุของการเกิดโรครองช้ำ” เนื่องจากหน้าที่หลักของพังผืดใต้ฝ่าเท้าคือการรองรับแรงกระแทกต่อฝ่าเท้า และรองรับอุ้งเท้า โดยขณะที่เรายืนหรือเดิน น้ำหนักตัวจะตกลงบนฝ่าเท้า ทำให้อุ้งเท้าแบนราบกับพื้นมากขึ้น แรงที่ตกลงมายังฝ่าเท้าจะกระจายไปยังบริเวณหน้าเท้าและส้นเท้า ส่งผลให้พังผืดมีความตึงตัวมากขึ้น แต่หากแรงตึงตัวที่เกิดขึ้นมีมากเกินกว่าที่พังผืดจะรับได้ จะทำให้พังผืดได้รับความเสียหาย ซึ่งอาการของโรคไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยการบาดเจ็บจะค่อยๆ สะสมทีละเล็กทีละน้อย จนเกิดการอักเสบหรือในกรณีร้ายแรงอาจเกิดการฉีกขาดในที่สุด “ปัจจัยที่ส่งผลให้มีแรงกระทำต่อพังผืดมากขึ้น” น้ำหนักตัวที่เยอะเกินไป การออกกำลังกายบางชนิด เช่น การวิ่ง การเต้นแอโรบิค การยืนหรือเดินนานเกินไป ลักษณะการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม โครงสร้างเท้า เช่น เท้าแบน อุ้งเท้าสูง ทำให้รูปแบบการเดินผิดปกติ ภาวะกระดูกงอกบริเวณกระดูกส้นเท้า ภาวะเอ็นร้อยหวายตึงตัว ไขมันบริเวณส้นเท้าฝ่อลีบเนื่องจากความเสื่อมตามอายุ …

โรครองช้ำหรือ plantar fasciitis คืออะไร ??? Read More »

ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกปลิ้นต้องออกกำลังกายแบบ Mckenzie!! โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทสามารถรักษาด้วยการออกกำลังกายแบบ McKenzie exercise เพื่อลดอาการปวดหลังและช่วยจัดกระดูกสันหลัง ดันหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมากลับเข้าที่ การออกกำลังกายแบบ McKenzie exercise นั้นสามารถทำได้ง่ายและไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือใดๆ โดยเน้นการเคลื่อนไหวของลำตัวและหลัง McKenzie exercise แบ่งเป็นประเภทการออกกำลังกายตามอาการดังนี้ ท่าที่ 1 ท่านอนคว่ำ(นอนคว่ำธรรมดา) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังมา และพึ่งเป็นใหม่ๆ ผู้ป่วยขยับร่างกายได้ยากลำบาก การนอนหงายจะไปกระตุ้นอาการปวดให้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงใช้วิธีนอนคว่ำ เพื่อลดการกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลังต่อเส้นประสาทไขสันหลัง นอนคว่ำอย่างน้อยวันละ 15 นาที จนไม่มีอาการปวดจึงเริ่มท่าต่อไป ท่าที่ 2 ท่านอนคว่ำ ชันศอก-เหยียดแขนสุด ท่านี้จะเป็นการเพิ่มแรงดัน (Pressure) ให้กับหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกมา โดยใช้แรงดันจากการแอ่นหลังทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาทกลับฃเข้าที่ ลดการกดทับ และลดอาการปวดหลัง ท่านี้ให้เริ่มทำจากการตั้งศอกขึ้นมาก่อน ให้อยู่ในท่านี้ครั้งละ 1-5นาที หรือ เท่าที่ผู้ป่วยทนไหว จึงลงไปพักในท่านอนคว่ำและทำซ้ำ ทำ 10-15 ครั้ง 3 รอบ เมื่อทำท่านี้จนไม่มีความรู้สึกปวด แล้วจึงพัฒนาเพิ่มแรงดันโดยการเหยียดแขนสุด และทำเหมือนกัน โดยครั้งนี้จะพักในท่าที่รองลงมา การเปลี่ยนจากท่าที่ 1 …

ท่าออกกำลังกายสำหรับผู้ที่เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท Read More »

ท่าออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง กล้ามเนื้อหลัง-สะโพก

ท่าออกกำลังกายแกนกลางลำตัว ท่าเริ่มต้น: นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้าง มือสัมผัสที่หน้าท้อง ลักษณะท่าทาง: หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟ๊บ ขณะหายใจ หลังต้องไม่แอ่น ทำ 5 ครั้ง 3 รอบ ท่าออกกำลังกายก้น ท่าเริ่มต้น: นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้าง ขาทั้งสองข้างห่างกันเท่าช่วงไหล่ ลักษณะท่าทาง: ยกก้นโดยเกร็งก้นและหลังค้างไว้ 5-10 วินาที ทำซ้ำทำ 10-15 ครั้ง 3 รอบ ท่าซุปเปอร์แมน ท่าเริ่มต้น: นอนคว่ำ ลักษณะท่าทาง: เกร็งท้อง ยกหน้าอกและขาขึ้น ค้างไว้5วินาที ทำซ้ำทำ 10-15 ครั้ง 3 รอบ ท่า Sqaut ท่าเริ่มต้น: ยืนตรง ลักษณะท่าทาง: งอเข่า งอสะโพกหลังตรง ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง 3 รอบ

ท่ายืดกล้ามเนื้อ ป้องกันปวดคอ-บ่า-ไหล่-หลัง-ขา

ท่าเอียงคอ ซ้าย-ขวา ท่าเริ่มต้น: มองหน้าตรง ลักษณะท่าทาง: เอียงศีรษะไปด้านข้างใช้แขนข้างที่ศีรษะเอียงช่วยออกเรงเพิ่มยืดค้าง 10-15 วินาที ทำซ้ำ 3 รอบ  รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อคอด้านข้างและบ่า ท่ามอง กระเป๋ากางเกง ท่าเริ่มต้น: มองหน้าตรง ลักษณะท่าทาง: ก้มและหมุนศีรษะไปด้านข้าง มองกระเป๋ากางเกงใช้มืออีกข้างออกแรงเพิ่ม ยืดค้าง 10-15 วินาที 3 ทำซ้ำรอบ รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อคอด้านหลังถึงสะบัก ท่าโยกซ้าย-ขวา ท่าเริ่มต้น: ยืนตรง ก้าวขาข้างที่ต้องการยืดมาด้านหน้า ลักษณะท่าทาง: เอียงลำตัวมาด้านตรงข้ามกับข้างที่ต้องการยืด ยกแขนข้างที่ต้องการยืดข้ามลำตัว ยืดค้าง 10-15 วินาที 3 ทำซ้ำรอบ รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อหลังด้านล่าง ท่าเปิดอก ท่าเริ่มต้น: หันหน้าเข้ามุมกำแพง ลักษณะท่าทาง: ยกแขน 90 องศา จากนั้นแอ่นอกไปข้างหน้า ให้ชิดกับผนังมากที่สุด ยืดค้าง 10-15 วินาที 3 ทำซ้ำรอบ รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อหน้าอกทางด้านหน้า ท่าดันกำแพง ท่าเริ่มต้น: …

ท่ายืดกล้ามเนื้อ ป้องกันปวดคอ-บ่า-ไหล่-หลัง-ขา Read More »

บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

เล่นกีฬาแล้วบาดเจ็บ ต้องทำอย่างไร ปฐมพยาบาลอย่างไรได้บ้าง?

*สัญญาณของการอักเสบที่สามารถสังเกตได้ คือ ปวด บวม แดง ร้อน การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬานั้นสามารถเกิดได้หลากหลายรูปแบบ จากสภาพร่างกายหรือท่าออกกำลังกายไม่เหมาะสมของนักกีฬา เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดอาการบาดเจ็บจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรรู้วิธีการจัดการตนเองเบื้องตน เพื่อลดอาการบวม อักเสบ หลักการดูแลการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดยใช้หลักRICE ดังนี้ https://www.youtube.com/watch?v=Hc2DWdd4ARo R= Rest– การพัก เมื่อนักกีฬาได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่ส่วนใด ให้พักการใช้งานส่วนนั้นทันที I= Ice– น้ำแข็ง ใช้น้ำแข็งหรือสเปร์ยเย็นเมื่อได้รับบาดเจ็บ ความเย็นจะช่วยลดอาการบวมและความปวด ควรประคบเย็นทันทีหลักเกิดอาการบาดเจ็บ ทำครั้งละ 15 นาที ทำได้ทุกชั่วโมง C= compression– การรัด การพันผ้ากระชับส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บ เพื่อไม่ให้บวมมากขึ้น โดยการพันผ้าจะไม่รัดแน่นเกินไป เพราะอาจะทำให้สว่นปลายบวมได้ การพันผ้าจากต้องแน่นจากส่วนปลายไปต้น สังเกตการไหลเวียนเลือดหลังจากการพัน สีผิวจะต้องไม่มีอาการม่วงหรือคล้ำ E= Elevation– ยกสูง ยกส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี เพื่อลดอาการบวม *คำแนะนำ หากมีการผิดรูปของข้อกระดูก ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและรักษาให้ทันท่วงที

การพันผ้ายืดเพื่อลดบวมด้วยตัวเอง ต้องทำอย่างไร?

*การบวมที่เกิดจากโรคหัวใจไม่ควรทำ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์ อาการบวมบริเวณปลายมือปลายเท้า นั้นสร้างความลำบากต่อการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการหยิบจับอะไรลำบากหรือ เดินลำบาก ในการใช้ผ้ายืดนั้นจะต้องมีแรงดึงที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการกดไหลเวียนของเหลวที่คั่งค้างบริเวณนั้นกลับสู่ระบบไหลเวียนเลือดต่อไป โดยจะเริ่มจากการเลือกผ้ายืดให้เหมาะสมต่อบริเวณที่มีอาการบวม หลักการพันผ้ายืด https://www.youtube.com/watch?v=tIERkFQmOJ4 เริ่มจากการพันจากส่วนปลายไปยังส่วนต้น เช่น พันจากปลายมือไปยังต้นแขน เริ่มพันโดยจับมุมผ้าเฉียงขึ้นแล้วพันเป็นวงหนึ่งรอบ จากนั้นพันผ้าแบบวงกลม 2-3 รอบ เพื่อให้ผ้ากระชับกับบริเวณที่พัน ไม่ให้หลวมหรือแน่นจนเกินไป เพราะจะมีผลต่อการไหลเวียนของเลือดไปสู่บริเวณนั้น ๆ ในการพันผ้ายืดพันให้แน่นในส่วนปลาย แล้วพันแน่นน้อยลงจนถึงส่วนต้น เพื่อช่วยระบายของเหลวในบริเวณนั้น ๆ กลับสู่ระบบไหลเวียนเลือด การใช้ผ้ายืดต้องระวังการรัดแน่นจนเกินไป จนเลือดเดินไม่สะดวกและกดทับเส้นประสาท สังเกตได้จากการบวมที่เพิ่มขึ้น สีผิวซีด ขาว และเย็น หรือมีอาการปวดและชา หากพบอาการเหล่านี้ ให้รีบคลายผ้าที่พันไว้ออกแล้วจึงพันใหม่

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)โรคที่ควรรู้ทันและควรจำ “FAST” ให้ขึ้นใจ

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบหรือหลอดเลือดแตก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจถึงตายหรือพิการตลอดชีวิต โรคหลอดเลือดสมองแบ่งเป็น 2 ชนิด 1. เส้นเลือดในสมองอุดตัน (Ischemic Stroke) 2. เส้นเลือดในสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) จากสถิติพบว่าทุกๆสองวินาทีจะมีคนป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่ไหนสักแห่งบนโลก ความน่ากลัวของโรคนื้คือการที่ผู้ป่วยแทบไม่รู้ตัวเลยและระยะเวลาในการดำเนินของโรคค่อนข้างสั้น เนื่องจากสมองคนเราไม่มีตัวรับความเจ็บปวด มันจึงไม่สามารถส่งสัญญาณเตือนเราได้ ดังนั้นเมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองเกิดภาวะขาดออกซิเจนและมันจะค่อยๆเป็นไปโดยที่คุณและคนรอบข้างไม่ทันรู้ตัว อาการเริ่มต้นดูเหมือนจะเล็กน้อยเสียจนเราไม่ทันได้สังเกตและเมื่อแสดงอาการออกมาก็อาจจะสายไปเสียแล้ว แต่ก็ยังพอจะมีอาการนำของโรคที่ควรรู้ทันและควรจำ “FAST” ให้ขึ้นใจ F (Face) คือ อาการกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าอ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมใบหน้าด้านใดด้านนึงได้ ปากเบี้ยว มุมปากตก เป็นต้น A (Arms) คือ อาการแขนอ่อนแรง ไม่สามารถยกแขนสองข้างขึ้นและค้างไว้ได้ S (Speech) คือ มีปัญหาในการสะกดและออกเสียง ไม่สามารถออกเสียงได้ชัดถ้อยชัดคำ T (Time) คือ ระยะเวลาที่ควรได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถทำข้อใดข้อหนึ่งได้นั่นเอง ทั้งนี้อาจมีอาการเล็กน้อยอื่นๆที่อาจพบเห็นได้ เช่น เวียนศีรษะ ทรงตัวไม่อยู่ ตาเห็นภาพซ้อน หรือตามืดมัวข้างใดข้างหนึ่งในทันที ให้ระวังเพราะอาจเกิดจากหลอดเลือดตีบหรือแตกแล้ว …

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)โรคที่ควรรู้ทันและควรจำ “FAST” ให้ขึ้นใจ Read More »

หลอดเลือดคุณ เป็นแบบไหน ???

โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เกิดขึ้นจากการสะสมของไขมัน และค่อยๆ ก่อตัวเป็นแผ่นไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงและอาจไปลดการไหลเวียนเลือด ที่จะไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจและสมอง จึงทำให้มีอาการภาวะขาดเลือดได้ เนื่องจากการอุดตันของทางเดินเลือดฉับพลัน นอกจากนี้แผ่นไขมันอาจไปปิดกั้นกระแสเลือดทั้งหมดแบบฉับพลัน หากเกิดที่หัวใจจะทำให้เป็นโรคหัวใจวาย และหากเกิดในสมองจะทำให้เป็นโรคเส้นเลือดในสมองอุดตันได้ แต่หากอยากมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคร้ายก่อนวัยอันควร ควรลดการทานอาหารคอเรสเตอรอลสูงเหล่านี้ให้น้อยลง ลดอาหารสำเร็จรูป อาหารสำเร็จรูปมักมีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ ไม่ว่าจะเป็นอาหารฟาสฟู้ด ไส้กรอก ขนมกรุบกรอบ ขนมปัง เค้กต่างๆ ตระกูลเบเกอรี่ เนยเทียม เป็นต้น ลดอาหารผัดๆ ทอดๆ น้ำมันที่ใช้ทำอาหารอาจเป็นตัวการทำให้เกิดคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นควรลดอาการจำพวก ไก่ทอด หมูทอด เฟรนฟรายด์ทอด เป็นต้น ลดเนื้อแดงติดมัน เนื้อแดงส่วนใหญ่มักมีมันแทรกอยู่ แต่ยิ่งอร่อยก็ยิ่งทำร้ายร่างกายมากขึ้น ดังนั้นควรเลือกเนื้อที่ไม่ติดมัน หรือติดมันน้อยที่สุด และอย่าทานมากเกินไป ลดแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นตัวการหลักของโรคร้ายนานาชนิด แถมยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ร่างกายสร้างไขมันไตรกลีเซอไรด์เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

Scroll to Top